วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

1. พระไตรปิฏก
การทำ สังคายนาเป็นเหตุให้เกิดพระไตรปิฎก
          แม้ในตอนต้น จะได้ระบุนามของพระเถระหลายท่าน ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก แต่พระไตรปิฎกก็เกิดขึ้นภายหลังที่ท่านพระเถระทั้งหลายได้ร่วมกันร้อยกรอง จัดระเบียบพระพุทธวจนะแล้ว ในสมัยของพระพุทธเจ้าเองยังไม่มีการจัดระเบียบหมวดหมู่ ยังไม่มีการจัดเป็นวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎก นอกจากมีตัวอย่างการจัดระเบียบวินัยในการสวดปาฏิโมกข์ลำดับสิกขาบททุกกึ่ง เดือน ตามพระพุทธบัญญัติและการจัดระเบียบธรรมในสังคีติสูตรและทสุตตรสูตรที่พระสา ริบุตรเสนอไว้ กับตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงวิธีจัดระเบียบพระธรรมแก่พระจุนทะเถระ และพระอานนท์ในปาสาทิกสูตร และสามคามสูตร ดังได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

 1.1 ความหมายของพระรัตนตรัย
          คำว่า รัตนตรัย” มาจากคำว่า รัตน” แปลว่า แก้วหรือสิ่งประเสริฐ กับคำว่า ตรัย” แปลว่า สาม ฉะนั้นพระรัตนตรัย แปลรวมกันว่า แก้วสามดวง หรือ สิ่งประเสริฐสามสิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือสูงสุดสามสิ่งนับเป็นองค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา อย่างใน อย่าง อันได้แก่
          1. 
ผู้ให้กำเนิดศาสนา คือพระพุทธเจ้า

          2. 
คัมภีร์หรือหลักคำสอน คือ พระธรรม อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วันสำคัญทางศานาและศาสนพิธี


1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
               1) วันมาฆบูชา
         วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
          ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
          หลักคำสอน ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พุทธประวัติและชาดก

พุทธประวัติ

     การตรัสรู้  ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ถ้าจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป  ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป    ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ต.อุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา อินเดีย)  ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก  ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนามีสาระที่เป็นประโยชน์ มีความสำคัญทั้งในด้านทฤษฎีที่เป็นเหตุเป็นผล และวิธีการที่เป็นสากลเหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง พุทธศาสนิกชนพึงวิเคราะห์
๑.๑ พระพุทธศาสนามีทฤษฎี และวิธีการที่เป็นสากล

1. หลักธรรมที่เป็นสากล เป็นหลักธรรมที่สามารถถือประพฤติปฏิบัติได้ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกชนชั้นของสังคม หากประพฤติปฏิบัติตามก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสันติสุข โลกเกิดความสงบ ไม่เบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน ไม่ก่อให้เกิดสงครามซึ่งส่งผลเสียหายต่อมวลมนุษยชาติและธรรมชาติอย่างมหาศาล หลักธรรมที่เป็นสากลของพระพุทธศาสนา อ่านเพิ่มเติม